เรียนภาษาในมหาวิทยาลัยศิลปะชื่อดังที่เกียวโต

2021年6月30日水曜日

ภาษาไทย

t f B! P L


สวัสดีครับทุกคน เราชื่ออาร์ม วันนี้เป็นวันอาทิตย์แดดร่มลมตก อากาศค่อนข้างดีกับบรรยากาศในห้องสมุดญี่ปุ่นอันสุดแสนจะเงียบสงัด(แอบหลับไปก็หลายตื่น)จึงพอจะมีเวลาให้เราได้ย้อนนึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมาตลอดช่วงเวลาเกือบๆจะ 2 ปีที่ผ่านมา

 

วันที่ 26 กันยายน 2019 วันแห่งการเดินทางมาเป็นนักเรียนที่ญี่ปุ่น


 เราตัดสินใจมาเรียนที่ Kyoto Institute of Culture and Language  ที่ประเทศญี่ปุ่น ตอนปี2019เทอมตุลาคม จนอนนี้เข้าสู่ เทอมเมษายน 2021 อยู่ ชั้นระดับสูง1 (上級1) ก่อนหน้านี้เราเคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาบ้างแล้วหละ ตั้งแต่ที่ไทยประมาณ 1 ปี ทุกคนจะต้องคิดว่า โหยเรียนมาตั้งปีนึงแล้วก็น่าจะเก่งแล้วหละสิแต่ปล่าวเลยจ้า เพราะก่อนมายังสอบ N4 ไม่ผ่านเลยคุณ 555เผื่อว่าใครจะยังไม่รู้ สำหรับคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นนั้นโดยส่วนใหญ่ทุกคนจะต้องผ่านการสอบวัดระดับภาษา ซึ่งเรียกกันว่า “JLPT” ( Japanese Language Proficiency Test )

โดยจะแบ่งเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ N5-N1โดยระดับที่ง่ายที่สุดก็คือ N5 และยากที่สุดก็คือ N1 นั่นเอง

หลังจากมาถึงทางโรงเรียนก็ได้จัดการสอบวัดระดับเพื่อที่จะจัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับเราที่สุด

ด้วยความที่รุ่นมีรุ่นพี่คนไทยแนะนำมาว่าว่า 

เห้ยอาร์มก่อนสอบไม่ต้องอ่านหนังสือนะเดี๋ยวได้อยู่ระดับที่สูงกว่าความสามารถของเราเกินไปจะเรียนไม่รู้เรื่องเอา ความรู้สึกในตอนนั้นก็สองจิตสองใจ แต่มาญี่ปุ่นทั้งทีจะให้อ่านหนังสืออยู่ห้องมันก็ไม่ใช่เรื่อง  ยิ่งได้ยินแบบนี้ก็โอเคครับ พับหนังสือเก็บเข้าลิ้นชัก และออกไปเที่ยวอย่างสบายใจเฉิบ


  

วันแรกจำได้ว่าไปเดินเล่นที่ริมแม่น้ำคาโมะเพื่อทำการสำรวจพื้นที่

แต่ดันไปเจอเจ้าถิ่นเข้าโดยบังเอิญ

  

งานเทศกาลจิไดมัสสึริ (時代祭り)

เป็นเทศกาลที่ใหญ่เป็นอันดับ1ใน3ของเกียวโต

  

ผลที่ออกมาคือเราได้เริ่มเรียนใน ระดับต้น2 (初級2) ความรู้สึกตอนนั้นคือดีใจมากกกก ไหนๆก็เคยเรียนมาบ้างแล้วอย่างน้อยก็ไม่ต้องเริ่มใหม่ตั้งแต่ศูนย์หละน้าา

หลังจากเริ่มเรียนไปสักพักก็พบว่าทั้งไวย์กรณ์(文法) และการพูด(会話)ของเราก็ไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่อะไรนี่นาจะออกแนวดีกว่าเพื่อนๆนิดๆด้วยซ้ำ ได้แต่คิดในใจทำไมโรงเรียนถึงจัดให้เรามาอยู่ในระดับนี้กันนะ(โครตมั่นหน้า555) แต่ภาษาญี่ปุ่นจะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เป็นของแสลงสำหรับเราและเพื่อนๆหลายๆคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่น สมัยอยู่ไทยเรียกได้ว่า เลี่ยงได้เลี่ยง ผ่านได้ผ่าน ใช่ครับมันคือ ตัวอักษรคันจิ (漢字) อย่าว่าแต่เขียนหรืออ่านเลย 90% ของคันจิในหนังสือคือพึ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก555 และด้วยความที่เพื่อนร่วมชั้นเรียนส่วนใหญ่จะเป็นชาวไต้หวัน เนื่องด้วยตัวอักษรคันจิของญี่ปุ่นนั้นประยุกต์มาจากตัวอักษรของจีน ถึงแม้จะไม่รู้เสียงอ่านหรือพึ่งจะเคยเห็นเป็นครั้งแรกก็ตาม เพื่อนๆชาวไต้หวันก็จะสามารถเข้าใจได้เลยว่าตัวอักษรนั้นหมายถึงอะไรโดยอัตโนมัติ (อารมณ์ความใกล้เคียงเทียบได้กับภาษาไทย/ภาษาลาว) เรียกได้ว่าในข้อนี้เราไม่สามารถเทียบกับเพื่อนได้เลย มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ว่า เมื่อคุณครูให้อ่านบทความ(読解) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวอักษรคันจิรายเรียงกันจนตาลาย ในขณะที่เพื่อนอ่านเสร็จพร้อมตอบคำถามจากบทความเรียบร้อยแล้ว เรายังอ่านไปได้ไม่ถึงครึ่งเลย T_T

 ถ่ายรูปกันก่อนเรียนจบในระดับต้น2 (初級2)

ปล.เพื่อนๆคลาสนี้น่ารักมากกก ทุกคนเฟรนลี่สุดๆ


 

โรงเรียนมักจะมีกิจกรรมนอกห้องเรียนให้เราได้ออกไปพบปะพูดคุยกับคนญี่ปุ่น

แล้วนำมานำเสนอในชั้นเรียนอยู่บ่อยๆ


หลังจากที่เราได้พยายามปรับทัศนคติของตัวเองที่คอยคิดจะหนีจากคันจิมาตลอด พร้อมทั้งปรึกษารุ่นพี่ถึงวิธีการจำตัวคันจิ ก็ได้พบกับแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ซึ่งวิธีการนั้นก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมากมาย ใช่ครับ คัดเท่านั้นที่ครองโลก จากวันนั้นจนถึงวันนี้เรียกได้ว่าไม่มีวันไหนเลยที่เราไม่ได้คัดคันจิ แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะว่าการคัดอาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะกับใครหลายๆคน เพราะคิดว่ามันทำให้เสียเวลา แต่สำหรับเรามาเรียนถึงญี่ปุ่นแล้วเรามีเวลาเหลือเฟือมากพอที่จะให้เวลากับมัน ถึงแม้เวลาผ่านไปอาจจะจะลืมวิธีเขียน ลืมวิธีอ่าน แต่อย่างน้อยพอเจอที่ตัวที่เราเขียนก็ยังพอจะสามารถเดาความหมายของมันได้บ้างสำหรับเราถือว่าคุ้มแล้วหละ


เทอมที่ 2 ในระดับต้น 1 (中級1)


ซากุระเริ่มบานแล้ววว

 

 


 

 หลังจากนั้นใบไม้ก็เริ่มเปลี่ยนสี

 

 

จากนั้นผลการเรียนของเราก็ดีขึ้นเป็นลำดับจากที่เคยสอบตก ก็เริ่มมีสอบผ่าน

จนบางครั้งถึงขั้น ได้คะแนนเต็ม เลยก็มี(ขอขิงนิดนึง555) สิ่งเหล่านี้มันสอนให้เรารู้ว่า

 ความพยายามไม่ได้แปลว่าจะสำเร็จ แต่ทุกความสำเร็จคต้องอาศัยความพยายาม

เทอมที่ 3 ในระดับกลาง 3 (中級3)

ปล.คลาสนี้มีให้แสดงละครด้วย เลยต้องมีพร๊อบบ้างเล็กน้อย555


 นอกจากคาบเรียนปกติแล้วที่โรงเรียนยังมีวิชาเลือก ให้เราสามารถเลือกได้ตามความชอบหรือความสนใจด้วยหละ เช่น วิชาวัฒนธรรมเกียวโต,วิชาเขียนพู่กัน หรือถ้าใครกำลังเตรียมตัวจะหางานทำต่อในญี่ปุ่น ก็จะมีวิชาการหางาน(就職活動) ที่จะคอยแนะนำตั้งแต่การเตรียมตัวยื่นเอกสาร,มารยาทในการสัมภาษณ์งานแบบญี่ปุ่น ไปจนถึงวิธีการตอบคำถามในการสัมภาษณ์ที่ถูกต้องเลยทีเดียว

 
ไปงานสัมมนาสำหรับการทำงานที่ญี่ปุ่น ก็จะต้องแต่งตัวเรียบร้อยนิดนึง


และด้วยความที่โรงเรียน KICL นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย Kyoto university of arts and design นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เราเลือกจะมาเรียนที่นี่ เพราะสิ่งที่แตกต่างออกไปจากโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นทั่วไปคือ นอกเหนือจากเวลาเรียนเรายังสามารถที่จะใช้สิ่งอำนวยความสดวกหรือกิจกรรมต่างๆของทางมหาลัยได้เหมือนกับนักศึกษาทั่วไปของมหาลัย เช่น การเข้าชุมนุมต่างๆกับนักศึกษาญี่ปุ่น,โรงยิม,โรงอาหาร,คาเฟ่ และที่ชอบเป็นพิเศษเลยคือ ห้องสมุดที่เรากำลังนั่งอยู่ตอนนี้ ถือเป็นสถานที่ที่เราใช้งานเยอะที่สุดเป็นสถานที่ที่เงียบวันหยุดก็สามารถมานั่งอ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียน ดูหนัง(แต่ต้องใส่หูฟังนะ55) หรือ จะหลับก็ไม่มีใครว่า

นอกจากการเรียนในห้องเรียนแล้วเรายังได้มีโอกาสไปทำงานพิเศษเป็นครูสอนภาษาไทยให้กับคนญี่ปุ่นอีกด้วยถือว่าเป็นประสบการณ์ที่จะไม่สามารถหาได้เลยถ้าไม่ได้มาที่นี่ ซึ่งต้องบอกได้เลยว่าจริงๆแล้วภาษาไทยก็ยากไม่แพ้ภาษาญี่ปุ่นเลยนะ ถึงจะเป็นเจ้าของภาษาก็ตามแต่บางทีก็อธิบายความแตกต่างของคำบางจำพวกไม่ได้เหมือนกันT_T


งานสอนภาษาไทยให้กับคนญี่ปุ่น ทำให้เราได้ประสบการณ์ใหม่ๆเพียบเลย

 

นอกจากนั้นเรายังชอบไปเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนกับคนญี่ปุ่น(交流会)

ถือเป็นสถานที่สำหรับฝึกสกิลการสนทนานอกห้องเรียนที่ดีมากเลยแหละแนะนำสุดๆ


สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจหรือกำลังลังเลกับการตัดสินใจจะมาเรียนที่ญี่ปุ่นนะครับ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ละก็บอกได้เลยว่า

ภาษาญี่ปุ่นไม่ได้มีเพียงแค่ไวย์กรณ์ หรือ คำศัพท์เท่านั้น แต่มันยังรวมไปถึงกระบวนการคิด วิถีชีวิต และค่านิยม แบบญี่ปู้นญี่ปุ่นที่จะต้องมาเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยตัวเอง

ซึ่งประสบการณ์นี้หาไม่ได้จากที่ไทยแน่นอนครับ

 


Translate

Applications

入學募集要項

Popular Entries / 人気の記事

KICL Official Homepage

Facebook

QooQ